วิสัยทัศน์ (VISION)

“เทศบาลตำบลจำปาขันน่าอยู่ สาธารณูปโภคพร้อม สิ่งแวดล้อมงามตา

พัฒนาคุณภาพชีวิตตามเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมสืบสานประเพณีวัฒนธรรม”

พันธกิจ (MISSION)

          1. การเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเพิ่มรายได้แก้ไขปัญหาความยากจน

          2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ส่งเสริมการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวและการกีฬา

          3. การส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข ตลอดจนอนุรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

          4. การพัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ได้ มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

          5. การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของคน ครอบครัวและชุมชนให้เข็มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

          6. การส่งเสริมสวัสดิการและนันทนาการให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างเสริมสุขภาพพลานามัยให้สมบูรณ์แข็งแรง และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

          7. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนพัฒนา การตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารและการปกครอง      

จุดมุ่งหมายการพัฒนา (GOALS) 

เทศบาลตำบลจำปาขัน มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า ซึ่งจะส่งผลทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดเป้าประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่กำหนด  ดังนี

          1.   ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน ทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

          2.   เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง ประชาชนและกลุ่มอาชีพได้รับการฝึกอบรม  พัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะในการพัฒนาอาชีพ  มีงานทำโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  มีรายได้เพิ่มขึ้นและเพียงพอต่อการดำรงชีพ

          3.   การพัฒนาคุณภาพชีวิต การจัดการด้านสวัสดิการสังคม การศึกษา  กีฬา  นันทนาการสาธารณสุข  การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของชุมชน  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  และการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้มีประสิทธิภาพ  ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 

          4.   ส่งเสริมการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นโบราณสถาน  และโบราณวัตถุ

          5.   ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแล บำรุงรักษา อนุรักษ์และฟื้นฟู 

          6.   บริหารจัดการและให้บริการด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

          7.   การบริหารงานและการปฏิบัติงานของเทศบาลมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและความร่วมมือทุกภาคส่วนในการพัฒนาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์การพัฒนา (STRATEGY) / เป้าหมาย / ตัวชี้วัด / กลยุทธ์

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน

เป้าหมาย  :    1ร้อยละถนนที่ได้มาตรฐานทางหลวงชนบท(ร้อยละ 1/ปี) 

                 2.  ร้อยละของครัวเรือนมีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค (ร้อยละ 90/ปี)

                 3.  ร้อยละของครัวเรือนมีไฟฟ้า (ร้อยละ 90/ปี)

                 4.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  (ร้อยละ 80/ปี)

ตัวชี้วัด  :    1ร้อยละระยะทางของถนนที่ได้มาตรฐาน

               2.  ร้อยละของครัวเรือนมีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค

               3.  ร้อยละของครัวเรือนมีไฟฟ้า

               4.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

 กลยุทธ์  :   1.  การบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐาน

                2.  ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

เป้าหมาย  :   1.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริม/ฝึกอบรมอาชีพ  (จำนวน 2 โครงการ/ปี)

             2.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนด้านเศรษฐกิจพอเพียง (จำนวน  2 โครงการ/ปี)

             3.  ร้อยละรายได้ของประชาชนต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น (จปฐ.) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2/ปี)

              4.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริม/ฝึกอบรมอาชีพ (ร้อยละ 80/ปี)

ตัวชี้วัด  :   1.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริม/ฝึกอบรมอาชีพ

             2.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนด้านเศรษฐกิจพอเพียง

             3.  ร้อยละรายได้ของประชาชนต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น (จปฐ.)

             4.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการส่งเสริม/ฝึกอบรมอาชีพ 

กลยุทธ์  :  1.  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพประชาชนและกลุ่มอาชีพ

              2.  ส่งเสริมและพัฒนาการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

              3. สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

เป้าหมาย  :   1. ร้อยละของคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น (จปฐ.) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2/ปี)

                2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการจัดสวัสดิการการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้มีรายได้น้อยและด้อยโอกาส การพัฒนาสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ (จำนวน 5 โครงการ/ปี)

                3. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านการศึกษา กีฬาและนันทนาการ (จำนวน 5 โครงการ/ปี)

                4. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านสาธารณสุข (จำนวน 5 โครงการ/ปี)

                5.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี  (จำนวน 5  โครงการ/ปี)

                6.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของชุมชน  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  และการแก้ไขปัญหายาเสพติด (จำนวน 3 โครงการ/ปี)

                7. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการจัดบริการด้านคุณภาพชีวิตและสังคม  (ร้อยละ 80/ปี)

ตัวชี้วัด  :   1.  ร้อยละของคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น (จปฐ.)

             2.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการจัดสวัสดิการ การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดเชื้อ  ผู้มีรายได้น้อยและด้อยโอกาส  การพัฒนาสตรี เยาวชน และผู้สูงอายุ

             3.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านการศึกษา  กีฬาและนันทนาการ

             4.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านสาธารณสุข

             5.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี

             6.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยของชุมชน  การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  และการแก้ไขปัญหายาเสพติด

             7. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการจัดบริการด้านคุณภาพชีวิตและสังคม

กลยุทธ์  :  1.  ส่งเสริมสวัสดิการสังคม การสงเคราะห์และพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส

              2.  ส่งเสริมการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

              3.  ส่งเสริมสุขภาวะ สาธารณสุข และการป้องกันโรคติดต่อของคนในชุมชน

              4.  อนุรักษ์และส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว

              5.  การรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยใน ชุมชน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการแก้ไขปัญหายาเสพติด อบายมุข

4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย  :   1.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (จำนวน 3 โครงการ/ปี)

                2.  จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านการบริหารจัดการขยะ  (จำนวน 3 โครงการ/ปี)

                3.  ร้อยละการร้องเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการสุขาภิบาลลดลง (ลดลงร้อยละ 1/ปี)

                4.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการจัดบริการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 80/ปี)

ตัวชี้วัด  :   1. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

             2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านการบริหารจัดการขยะ

             3. ร้อยละการร้องเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการสุขาภิบาลลดลง

             4. ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนในการจัดบริการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์  :  1.  การดูแล บำรุงรักษา อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน

              2.  การควบคุมและแก้ไขปัญหาขยะและมลภาวะในชุมชน

                 3.  การบริหารจัดการด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม

5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ

เป้าหมาย  :   1. ร้อยละบุคลากรเทศบาลตำบลจำปาขันที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ  (ร้อยละ 95/ปี)

                2.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการรับบริการของเทศบาลตำบลจำปาขัน  (ร้อยละ 80/ปี)

                3.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานในการพัฒนาเทศบาลตำบลจำปาขัน  (ร้อยละ 80/ปี)

ตัวชี้วัด  :   1. ร้อยละบุคลากรเทศบาลตำบลจำปาขันที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

             2.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการรับบริการ และให้บริการของเทศบาลตำบลจำปาขัน

             3.  ร้อยละความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการดำเนินงานในการพัฒนาเทศบาลตำบลจำปาขัน

 กลยุทธ์  :   1.  พัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายใต้หลักธรรมาภิบาล

                2.  สร้างจิตสำนึกและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร

                3.  ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการตรวจสอบการบริหารงานของเทศบาล

โครงสร้างความเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

 

แผนผังยุทธศาสตร์เทศบาลตำบลจำปาขัน

 

รายละเอียดยุทธศาสตร์เทศบาลตำบลจำปาขัน 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page

การบริหารงาน

จำนวนผู้เข้าชม

1566973
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่ผ่านมา
เดือนนี้
เดือนที่ผ่านมา
ทุกวัน
854
1248
5001
1556236
21271
42787
1566973

Your IP: 108.162.226.129
2024-11-21 13:29